ทำ นม ให้ นม ลูก ได้ มั้ ย สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังจะมีลูกตัวน้อย แต่เคยเสริมหน้าอกมาก่อนหน้านี้แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าจะยังให้นมลูกได้หรือไม่ ปริมาณน้ำนมที่ผลิตจะลดลงหรือไม่? และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย จะมีอะไรบ้าง?
คำถามเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่วิตกกังวลอย่างแน่นอน จึงมีคำตอบมาช่วยให้คุณแม่เสริมหน้าอก เกิดความมั่นใจมากขึ้น
น้ำนมแม่สร้างจากที่ไหน?
ตามปกติน้ำนมแม่จะสร้างจากต่อมน้ำนมและถูกเก็บไว้ที่ถุงเก็บน้ำนม (Lobules) หลังจากนั้นจะถูกลำเลียงผ่านท่อน้ำนม (milk duct) ออกมาที่บริเวณลานนม (Aleola) และออกมาที่หัวนม (Nipple) เพื่อออกมาให้ลูกน้อยทาน
เคยเสริมหน้าอกมา สามารถให้นมลูกได้ไหม?
เป็นคำถามที่ใครหลาย ๆ คนสงสัยและเป็นกังวลใจว่า การเสริมหน้าอกจะมีผลต่อการให้นมลูกหรือไม่ สาว ๆ ไม่ต้องกังวลไป เพราะการเสริมหน้าอกนิยมเปิดแผลผ่าตัดใต้รักแร้หรือใต้ราวนม เพื่อใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปใต้หรือเหนือกล้ามเนื้อเต้านม โดยไม่มีการตัดท่อน้ำนมหรือตกแต่งบริเวณหัวนมจึง “สามารถให้นมลูกได้”
โดยปกติแล้วการเสริมหน้าอกมีตำแหน่งของการวางซิลิโคน 2 ตำแหน่งหลัก ๆ ที่เป็นมาตรฐานคือ “การวางใต้กล้ามเนื้อหน้าอก” และ “การวางบนกล้ามเนื้อหน้าอก” แต่ไม่ว่าจะวางไว้ตรงตำแหน่งไหนก็ไม่มีผลต่อการให้นมลูก
เนื่องจากถุงซิลิโคนจะถูกวางไว้ด้านใต้เนื้อนมส่วนที่ใช้สร้างน้ำนม จึงไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด หากตั้งครรภ์ก็สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามหลังเสริมควรนวดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน ร่างกายจะสร้างพังผืดมาห้อมล้อมถุงซิลิโคนไว้เสมอ ถ้าพังผืดมีมากก็อาจทำให้เต้านมมีลักษณะแข็งตึงไม่เหมือนธรรมชาติได้
แล้วทำไมถึงมีคนบอกว่าให้นมไม่ได้ล่ะ?
อาจเป็นเพราะความเข้าใจผิด หรือความกังวลในอดีตที่เทคนิคการผ่าตัดยังไม่พัฒนาเท่าปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนี้ เทคนิคการเสริมหน้าอกมีความปลอดภัยและทันสมัยมากขึ้น ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อการให้นมบุตร
หากเกิดปัญหาซิลิโคนแตก หรือรั่ว จะส่งผลต่อการให้นมลูกไหม?
ถึงแม้การเสริมหน้าอกจะไม่มีผลกระทบต่อการให้นมลูก แต่หลายคนก็อาจจะเกิดความลังเลว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ซิลิโคนหน้าอกรั่ว หรือแตกขึ้นมา จะส่งผลอะไรต่อการให้นมลูกหรือไม่ กรณีที่เกิดปัญหาซิลิโคนนมรั่ว หากเป็นซิลิโคนแบบน้ำเกลือจะไม่อันตราย เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซับน้ำเกลือได้ แต่อาจจะทำให้เต้านมมีขนาดเล็กลง หรือนมทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
แต่ถ้าเป็นซิลิโคนแบบเจล หากเป็นซิลิโคนที่ดีหน่อย มักจะไม่มีการรั่ว หรือไหลไปยังส่วนอื่นๆ เนื่องจากซิลิโคนจะจับตัวกัน ไม่ไหลเป็นน้ำ บางคนอาจจะรู้สึกปวด หรือชาบริเวณเต้านมได้ ส่วนใหญ่จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาถุงซิลิโคนที่รั่ว หรือแตกออก แต่จะไม่ได้มีอันตรายต่อการให้นมมากนัก
เพราะส่วนใหญ่ซิลิโคนหน้าอกจะมีความหน้าประมาณ 1 – 3 ชั้น ซึ่งค่อนข้างหนา ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ในการรั่วน้อย ยิ่งถ้าเป็นซิลิโคนนมเกรดดีหน่อย โดยเฉพาะซิลิโคนที่ข้างในเป็นซิลิโคนเจล หรือเบรกเกอร์ จะค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง!
หากเสริมหน้าอกแล้วน้ำนมจะลดลงไหม?
โดยปกติแล้ว การเสริมหน้าอกไม่ได้ทำให้ปริมาณของน้ำนมลดลง หากลูกได้ดูดนมตั้งแต่หลังคลอด ดูดทุก 2 ชั่วโมงหลังคลอดใหม่ ๆ และอมหัวนมจนมิดลานนมอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม อาจมีคุณแม่บางราย ที่เสริมเต้านมแล้วอาจรู้สึกชาหัวนมเมื่อลูกดูดนม นอกจากนี้ปฏิกิริยาของระบบประสาทที่กระตุ้นให้น้ำนมไหลพุ่งออกจากหัวนมอาจลดลง จึงทำให้นมไหลน้อยลงได้เหมือนกัน
ผู้ที่รู้สึกไม่มั่นใจว่า จะมีน้ำนมพอให้ลูกกินหรือไม่ ขอแนะนำให้ทำในสิ่งต่อไปนี้
- พยายามอย่าใช้ความรู้สึกเป็นตัวตัดสินดูที่สุขภาพลูกเป็นหลัก
- หมั่นให้ลูกกินนมอย่างสม่ำเสมอ กินอย่างถูกวิธี
- สวมเสื้อยกทรงหรือมีสิ่งประคับประคองเต้านมไว้เสมอ โดยไม่ให้หลวมหรือคับแน่นจนเกินไป
- อย่าให้มีการดึงรั้งหัวนมหรือเต้านม เช่น การดึงเอาหัวนมออกจากปากลูก ฯลฯ
- ดูแลตนเองโดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อน และมีจิตใจที่แจ่มใส
- ถ้าจำเป็นต้องกระตุ้นน้ำนมให้ลูกดูดกระตุ้นที่เต้าก่อนเสมอ
- สามารถบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั้ม เพื่อใช้เสริมให้ลูกในกรณีที่จำเป็น โดยให้นมลูกผ่านทางสายยางขนาดเล็ก หรือใช้หยดที่มุมปากตอนดูดจากเต้าก็ได้
- ใช้การเสริมด้วยนมชงเป็นทางเลือกสุดท้าย ถ้าแสดงอาการน้ำนมที่ได้ไม่พอ
ให้นมลูกหลังเสริมหน้าอก นมจะยานไหม?
คุณแม่ที่เสริมหน้าอกแล้วให้นมลูก เต้านมจะหย่อนคล้อยเท่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เสริมหน้าอกมา เนื่องจากตอนตั้งครรภ์นั้น หน้าอกจะขยาย และตึงมากขึ้น พอหลังคลอดจึงหย่อนคล้อยกว่าเดิมเป็นเรื่องปกติ
และการให้นมลูกก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด หรือนมเหี่ยวหลังคลอด แต่สาเหตุที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยหลังคลอด หรือนมเหี่ยวหลังคลอดนั้นเกิดจากการขยายของหน้าอก รวมถึงการบีบตัวของท่อน้ำนมในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ โดยหลังจากที่คลอดบุตรแล้วก็อาจมีการหดตัว จึงส่งผลให้หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอดได้ครับ รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด
- ขนาดหน้าอกที่ใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเป็นสาเหตุให้หน้าอกหย่อนยาน
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวหนังยืดและหดตัวเร็วเกินไป
- การสูบบุหรี่ การโดนแสงแดดบ่อย ๆ ทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น ส่งผลให้นมเหี่ยวหลังคลอด
- แรงกระแทกโดยเต้านมไม่ได้รับการโอบอุ้ม การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่ต้องมีแรงกระแทก โดยที่ไม่ใส่เลือกใส่เสื้อชั้นในหรือสปอร์ตบราที่เหมาะสม อาจทำให้เต้านมหย่อนคล้อยได้ไวขึ้น
คำแนะนำสำหรับคุณแม่เสริมหน้าอกที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เนื่องจากมีสารอาหารที่ครบถ้วนและยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ของลูกน้อยได้อย่างดีเยี่ยม แพทย์จึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
สำหรับคุณแม่ที่เสริมหน้าอกมา แล้วกลัวว่าเสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม ก็คงได้คำตอบกันไปแล้วว่าทำได้แน่นอน 100% และยังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมกันอีกด้วย แต่ทั้งนี้ แพทย์มีคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อควรรู้ของการเสริมหน้าอกแล้วต้องให้นมบุตร
- การเสริมหน้าอกขนาดใหญ่มาก ๆ อาจทำให้ระหว่างให้นมบุตรจะมีอาการเจ็บ คัด ตึงที่เต้านมได้ค่อนข้างมาก
- ในรายที่ต้องการเสริมหน้าอกและมีแพลนจะมีบุตร หมอแนะนำให้ใช้การผ่าตัดเปิดแผลเสริมหน้าอกทางใต้ราวนมและทางรักแร้ดีที่สุด เนื่องจากการผ่าตัดผ่านทางปานนมอาจมีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อท่อน้ำนมได้มากกว่า หากเสริมหน้าอกกับศัลยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญเพียงพอ
- แพทย์แนะนำว่าหลังเสริมหน้าอกควรรอประมาณ 1 ปีถึงจะวางแผนการมีบุตร เนื่องจากต้องอาศัยเวลาให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่
- ทั้งในรายทั่วไปที่เสริมหน้าอกและคุณแม่ที่ทำนมแล้วมีลูก หากต้องมีการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม จะต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าได้เสริมหน้าอกมาก่อน ทั้งนี้ เพื่อการพิจารณาตรวจด้วยเทคนิคพิเศษ
คำแนะนำสำหรับคนที่กำลังคิดจะเสริมหน้าอก
- ปัญหานมคัดตึงตอนให้นมลูกน้อย
เนื่องจากการผ่าตัดเสริมเต้านมนั้น อาจมีการทำลายต่อมน้ำนม ท่อน้ำนม เส้นเลือด เส้นประสาทบ้าง โดยเฉพาะ แผลผ่าตัดที่อยู่ใต้ลานนม รวมทั้งการเพิ่มปริมาณนมจากสารที่เสริมนม ทำให้ขณะตอนให้นมลูกน้อย นมอาจจะบวมคัดตึง รู้สึกไม่สบายมากกว่าปกติ
- ปริมาณของน้ำนมของคุณแม่
โดยทั่วไปปริมาณของน้ำนมคุณแม่นั้นจะไม่ลดลง หากลูกน้อยได้ดูดนมตั้งแต่หลังคลอด ให้ลูกน้อยดูดนมทุก ๆ 2 ชั่วโมงหลังคลอดใหม่ ๆ และอมหัวนมจนมิดลานนมอย่างถูกวิธี แต่ในคุณแม่บางรายที่เสริมหน้าอกมา อาจจะรู้สึกชาที่หัวนมเมื่อลูกน้อยดูดนม นอกจากนี้ปฏิกิริยาของ ระบบประสาทกระตุ้นให้นมไหลพุ่งออกมาจากหัวนมอาจจะลดลง จึงทำให้น้ำนมไหลน้อยลง
- ความสำเร็จในการให้นมแม่
พบว่าโอกาสให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในคนที่เสริมเต้านม จะประสบความสำเร็จน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เสริมเต้านมเลย ถึง 3 เท่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องไม่ใช่การที่เสริมเต้านมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ
แม่ที่เสริมเต้านมนั้น มีความตั้งใจในการที่จะให้นมลูกน้อยกว่าคนที่ไม่เสริมเต้านม โดยงานวิจัยทางการแพทย์เผยว่า ผู้หญิงที่เสริมเต้านมนั้นมักเป็นผู้หญิงที่มีอายุน้อย ฐานะดี สุขภาพที่แข็งแรง แต่งงานแล้ว มีลูกแล้ว มีความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของตนเอง
เกรงว่าสารที่ทำการเสริมเต้านมนั้น จะทำอันตรายต่อลูกน้อย ในที่นี้คือซิลิโคนเหลวนั้น ซึ่งแม้แต่ตัวคุณแม่เองก็มีรายงานว่า อาจจะก่อให้เกิดภูมิแพ้เพิ่มขึ้นด้วย จึงมีความกังวลว่า หากมีการเกิดรั่ว หรือแตกอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยที่กำลังทำการดูดนมจากเต้า
เกรงว่าหน้าอกที่ไปทำมา อาจจะเกิดการหย่อนคล้อยหากให้นมลูก แม้มีงานวิจัยยืนยันว่า แม่ที่เสริมเต้านมแล้วให้นมลูก เต้านมจะหย่อนคล้อยเท่าคนทั่วไปที่ไม่ได้ทำการเสริมเต้านม เพราะตอนตั้งครรภ์นั้นหน้าอกจะเริ่มขยาย และตึงมากหลังคลอด จึงหย่อนคล้อยกว่าเดิมเป็นเรื่องธรรมดา
ทำนม ที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์ ทรงสวย ดูธรรมชาติ ปลอดภัย!
โรงพยาบาลเลอลักษณ์ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเสริมความงามที่ให้บริการด้านความงามหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึง การผ่าตัดศัลยกรรมหน้าอก ซึ่งเป็นการผ่าตัดศัลยกรรมที่ช่วยเสริมสร้างเรื่องความมั่นใจ แผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นไว เนินอกสวยนิ่มดูเป็นธรรมชาติและกลมกลืนไปกับเนื้อหน้าอกจริง
ที่นี่มีแพทย์ศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางที่เป็นสมาชิกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย (ThSAPS) ด้วยประสบการณ์การศึกษาและฝึกอบรมรวม 12 ปี และมีประสบการณ์การผ่าตัดมากกว่า 10 ปี ทำให้คุณมั่นใจในความเชี่ยวชาญนี้
โรงพยาบาลของมีมาตรฐานสูง เครื่องมือแพทย์ครบครัน และห้องผ่าตัดปลอดเชื้อด้วยระบบ HEPA Filter รวมถึงระบบ Oxygen Pipeline สำหรับกรณีฉุกเฉิน ทีมแพทย์และพยาบาลดูแลคุณอย่างใกล้ชิด พร้อมรับประกันผลการทำศัลยกรรมภายใน 6 เดือนเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน ด้วยบริการที่คุณจะประทับใจแน่นอน
สรุป ทำ นม ให้ นม ลูก ได้ มั้ ย
สาวๆ ที่อยากเสริมหน้าอก แต่กังวลเรื่องการมีลูกและให้นมลูกในอนาคต ไม่ต้องกังวลไป การเสริมหน้าอกโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้นมลูกแน่นอน
และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก่อนเสริมหน้าอกควรหาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และควรแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าหลังเสริมหน้าอกได้วางแผนมีครอบครัว มีลูกและจะให้นมลูกเอง เพื่อให้ได้หน้าอกที่สวยดูเป็นธรรมาชาติ